มะเร็งปากมดลูกอันตรายแค่ไหน
21 พฤศจิกายน 2566
มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) โดยการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นแล้ว มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าสามารถตรวจพบ ได้เร็วในระยะก่อนเป็นมะเร็ง แต่สาเหตุสําคัญที่ทําให้โรคนี้ยังเป็นกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มักปฏิเสธการตรวจภายในเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกเพียงเพราะอายหรือไม่กล้ามาตรวจไวรัส HPV กับโรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันข้อมูลทางวิชาการบ่งชัดว่าสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมีอยู่ประมาณหลายสายพันธุ์ ผู้หญิงเรามีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV อยู่แล้วในช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร่างกายสามารถกําจัดเชื้อไปได้เอง เรียกว่าติดเชื้อ แบบชั่วคราว แต่ในบางครั้งร่างกายก็ไม่สามารถกําจัดเชื้อได้โดยเฉพาะสาเหตุมาจากไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (โดยเฉพาะ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18) ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต
- ตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ตรวจ Pap smear เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติแบบดั้งเดิม สถานพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย ใช้วิธีนี้กัน มีข้อดีคือราคาถูก แต่ปัญหาคือมีความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ค่อนข้างต่ํา (40 - 70%)
- วิธี “Thin Prep” เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทางเซลล์วิทยาเช่นเดียวกับ Pap smear แต่เพิ่มความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ (80 - 90%)
- ปัจจุบันมีการตรวจที่เรียกว่า “Thin prep plus HPV” เป็นการตรวจ Thin prep ร่วมกับ การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งการตรวจแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
ความแตกต่างระหว่าง “ Thin prep plus HPV ” และการตรวจ “Pap smear” การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ “Pap smear” ปกตินั้น จะสามารถตรวจหาได้ก็ต่อเมื่อเกิดโรค แล้วเท่านั้น จึงต้องตรวจเป็นประจําทุกปี เพื่อสามารถตรวจ พบได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก แต่การตรวจด้วย “Thin prep plus HPV” เป็นการผนวกรวมของ (Thin prep + ตรวจหา เชื้อไวรัส HPV) ดังนั้น เมื่อผลการตรวจหาเชื้อ HPV และการตรวจ Thin Prep ให้ผลเป็นลบทั้งคู่ ก็จะสามารถสรุปได้ว่า ไม่มีความ เสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกอย่างแน่นอน 100% ในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ตรวจ จึงสามารถเว้นการตรวจเป็นทุก 3 ปี แทนการตรวจทุก ๆ ปี
- การตรวจคัดกรองครั้งแรก ควรเริ่มทําหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณ 3 ปี หรือเมื่อถึงอายุ 21 ปี แล้วแต่ว่าเวลาใดมาถึงก่อน - กลุ่มผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี ควรทําการตรวจคัดกรองทุกปี เพราะมีหลักฐานพบว่า กลุ่มหญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสเสี่ยง มากกว่ากลุ่มอื่นที่มีอายุมากกว่า ในการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) ชนิดความเสี่ยงสูงที่ก่อมะเร็ง
- กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี มีสองทางเลือก
- ตรวจ “Pap smear” เพียงอย่างเดียว โดยทําการการตรวจปีละครั้ง
- ตรวจ “Thin prep plus HPV” ถ้าผลการตรวจคัดกรองปกติ (Negative) หากผลเป็นปกติ (Negative) ติดต่อกัน 3 ปี หลังจากนั้นสามารถรับการ ทั้งสองอย่าง ให้ตรวจได้ห่างขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรวจคัดกรองทุกๆ 2 - 3 ปีได้ก็จําเป็นต้องรับการตรวจบ่อยขึ้น